บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
อาจารย์ผู้สอนจินตานา สุขสำราญ
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวันนี้
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ติชม เรื่องบล็อกเกอร์และบอกถึงข้อตกลงของบล็อกให้นักศึกษาทำตามข้อตกลงด้วยจากนั้นอาจารย์ด้บอกถึงวิธีการเรียนรู้คือ การลงมือทำ การปฎิบัติเด็กเรียนนรุ้โดยเด็กจะลงมือกระทำเอง
กิจกรรมวันนี้
กิจกรรมวันนี้เริ่มต้นโอยอาจารญืได้เเจออุปรกรณ์ คือกระดาษ กับไม้เสียบลูกชิ้น จากนั้นอาจญืให้วาดรูปสองฝั่งแล้วนำกระดาษมาปะกบกัน เสร็จแล้วนำไม้้เสียบลูกชิ้นสอดไว้ข้างในกระดาษ
หลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม ก็เป็นการนำเสนอบทความของเพื่อนดิฉันเลยยกตัวอย่างบทความมา 1บทควา
นางสาววิรัญดา ขยันงาม
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชต่างๆ พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้เด็กง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งแวดล้้อมรอบตัว เช่น การเข้าครัวทำอาหารที่เกี่ยวกับผัก เด็กก็จะได้เรียนรู้ไปในตัว ว่าผักชนิดนั้นที่เขาช่วยคุณแม่ล้างเป็นผักอะไร มีประโยชน์ อย่างไร นอกจากเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวผักแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอีกด้วย
ศึกษาเพิ่มเติม
ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau ) “เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว” การให้การศึกษาแก่เด็กทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กเสียก่อน
การทำงานของสมองคือ
อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ สมองส่วนหน้า (Forebrain) สมองส่วนกลาง (Midbrain) และสมองส่วนท้าย (hindbrain) สมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงจะมีวิวัฒนาการไปมากโดยเฉพาะส่วนหน้าจะมีขนาดใหญ่และซับซ้อนขึ้น แต่สมองส่วนกลางจะค่อย ๆ เล็กลงเพราะจะลดความสำคัญลงไป
1. สมองส่วนหน้า (Forebrain)
ปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เพียงรับสัญญาณการดมกลิ่นจากเส้นประสาทสมองคู่ที่1ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนที่เรียกว่าCerebrum จะควบคุมการใช้ความคิดความจำ การใช้เหตุผล การแปรหรือรับควารู้สึกชนิดต่าง ๆ เป็นศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว การมองเห็นและการได้ยินเสียง Cerebrum มีร่องลึกหรือรอยบุ๋มมากมายเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ที่เรียกว่า convolution ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้าแยกเป็น ธาลามัส (thalamus) และไฮโปธาลามัส (hypothalamus) ธาลามัสทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่มาจากไขสันหลังและสมองเพื่อส่งไปยังส่วนหน้าสุดของซีรีบรัมไฮโปธาลามัสอยู่ใต้ธาลามัสติดกับต่อมใต้สมอง(pituitary grand) ทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ การกิน การกระหายน้ำ การหนีภัย การค่อสู้ การรักษาสมดุลของร่างกาย รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิของร่างกาย และพฤติกรรมทางเพศ
2. สมองส่วนกลาง (Midbrain)
สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ สมองส่วนนี้เป็นศูนย์กลางของการมองเห็น สัตว์เลื้อยคลานกับนก ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณการมองเห็นไปยังซีรีบรัม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นเพียงสถานีถ่ายทอดสัญญาณระหว่างสมองส่วนท้ายและสมองส่วนหน้า และระหว่างตากับสมองส่วนหน้า
3. สมองส่วนท้าย (Hindbrain)
ประกอบด้วยซีรีบรัม (cerebellum) เมดุลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) และ พอนส์ (pons) ซีรีบลัมมีหน้าที่หลักในการควบคุมการทรงตัว ควบคุมและประสานงานการเคลื่อนไหว พอนส์ควบคุมการเคี้ยวและกลืน เมดุลลาออบลองกาตาทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
บิดาแห่งปฐมวัย
“เฟรอเบล” บิดาการศึกษาปฐมวัย
เฟรดริค วิสเฮม เฟรอเบล ผู้นำการศึกษาอนุบาลที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาการศึกษาปฐมวัย” ด้วยการพัฒนาโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกขึ้นในประเทศเยอรมนีในปี ค.ศ. 1837 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการพัฒนาการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอน ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียกว่า การงานอาชีพ
เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงาม มาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรจะเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น ด้วยเหตุผลนี้เฟรอเบลจึงใช้พื้นฐานความพร้อมของเด็กในการเรียน พัฒนาการตามช่วงอายุ ธรรมชาติของเด็กและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่เฟรอเบลมีความสนใจมาจัดทำเป็นชุดของเล่นและกิจกรรมสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับวัยของเด็กโดยเรียกชื่อว่า ชุดอุปกรณ์ (Gifts) และการงานอาชีพ (Occupations)
ชุดอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์สำหรับเด็กใช้เล่นเพื่อการเรียน ตามแนวการสอนของครู เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด สี และมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับการวัด นับ การจำแนก และเปรียบเทียบ ชุดอุปกรณ์นี้ประกอบด้วยวัสดุสัมผัสได้จำนวน 10 ชุด
การงานอาชีพ หมายถึง กิจกรรมที่ออกแบบมาใช้ในการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ปั้นดิน การตัด ร้อยลูกปัด การทำขนม การพับ เป็นต้น
เฟรอเบลเปรียบเทียบการสอนเด็กว่าเหมือนกับการเพาะเมล็ดพืชที่ผู้ปลูกต้องดูแลให้เม็ดงอกงามขึ้นเป็นต้นแตกกิ่งใบและดอกผลที่สมบรูณ์ เช่นกับการพัฒนาเด็กที่ดีต้องสอดคล้องผสมผสานกลมกลืนไปกับธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้จากง่ายไปยาก ตามความสนใจของเด็กโดยครูต้องมีแผนการสอนที่สอดคล้องกับวัย พัฒนาการและความพร้อมของเด็กในการเรียน เปิดโอกาสให้เด็กลงเล่นมือชุดอุปกรณ์อย่างอิสระ รวมถึงครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากการทำกิจกรรมประจำวัน ในการจัดการเรียนการสอนนี้ ตารางกิจกรรมประจำวันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเฟรอเบลเป็นผู้พัฒนาตารางกิจกรรมประจำวันขึ้น เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา แนวคิดตารางกิจกรรมประจำวันนี้จึงได้นำมาใช้ในการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน ดังนั้นการนำตารางกิจกรรมประจำวันมาใช้ สิ่งที่ครูต้องคำนึงถึงคือ “การบูรณาการ” ครูอาจผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้ากับการเรียนด้วยการเล่นอย่างมีความสุขนั้นก็ คือ หัวใจการศึกษาปฐมวัย
วันนี้ตั้งใจเรียนดี ทำสื่อได้ออกมาได้น่ารัก
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนชวนการตอบถามได้ดีมาก ทำสื่อน่ารักกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก มีแนวการสอนที่ดี และได้นำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น